Essential oil: The Natural Ingredient Best of Aromatherapy
น้ำมันหอมระเหย: สุดยอดวัตถุดิบจากธรรมชาติของศาสตร์สุคนธบำบัด
น้ำมันหอมระเหย (essential oil) คืออะไร
สารสกัดจากส่วนของพืชต่าง ๆ ที่ถูกกระบวนการกลั่น สกัด จนออกมาเป็นน้ำมัน ซึ่งส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นิยมนำมาใช้ เช่น ดอกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ ราก ผลไม้ เมล็ดพืช เรซิน ฯลฯ น้ำมันหอมระเหยนี้สามารถช่วยในการบำบัดตามศาสตร์สุคนธบำบัด (Aromatherapy) ซึ่งหมายถึง การบำบัดรักษา
สารบัญ
น้ำมันหอมระเหยมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตเรา ตั้งแต่ในอดีตหลายร้อยพันปี ยุคแรกเป็นการเผา ยางไม้ กิ่งไม้ เปลือกไม้เพื่อให้เกิดกลิ่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อ พิธีกรรม และศาสนา เช่น การเผากิ่งจูนิเปอร์ (Juniper) ในวัดทางธิเบต เพื่อขจัดวิญญาณร้าย หรือการเผากำยาน (Frankincense) เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมของชาวโรมันคาทอลิก รวมไปถึงการใช้ในเรื่องของการรักษาการเจ็บป่วย ซึ่งชาวจีนนิยมใช้ น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ควบคู่ไปกับการฝังเข็ม และชาวอินเดีย ก็มีศาตร์ทาง เวทศาสต์ (Vedic) ในการนำ มดยอบ (Myrrh) , ผักชี (Coriander), อบเชย (Cinnamon), ไม้หอมแก่นจันทร์ (Sandalwood) มาใช้ในพิธีกรรมและการรักษาเช่นกัน รวมถึงการนำไปทำอาหาร เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย จะเห็นได้ว่ น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) อยู่คู่กับวิถีชีวิตของเรามายาวนาน
กระบวนการสกัดน้ำมันหอมระเหย
น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) มีกระบวนการสกัดได้หลายรูปแบบด้วยกัน ดังนี้
-
การกลั่นโดยไอน้ำ (Steam Distillation)
-
การสกัดโดยใช้ไขมัน (Enfleurage)
-
การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent extraction)
-
การสกัดด้วยวิธีการบบเย็น (Expression)
-
การใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวภายใต้ความดันสูง (Supercritical fluid extraction)
โดยวิธีการกลั่น (Distillation) เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ประหยัด และทำได้ง่ายที่สุด จาก 5 วิธีข้างต้น ซึ่งการกลั่น (Distillation) เป็นวิธีที่ใช้กับสมุนไพรที่ทนความร้อนจาก ใบ ราก เปลือกไม้และยางไม้ เป็นวิธีการกลั่นแบบโบราณมีประวัติยาวนานมากกว่า 5000 ปี และต้องใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติจำนวนมาก ในการกลั่นแต่ละครั้ง เช่น กลีบดอกกุหลาบ 4,000 กิโลกรัม ได้น้ำมันหอมระเหยเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้นเอง
การคั้นหรือการบีบ หรือการสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยปกติน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละชนิดจะมีสารประกอบทางเคมีตั้งแต่ 50-500 ชนิด องค์ประกอบทางเคมีแต่ละชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่เมื่อมาผสมผสานกันอยู่ จะทำให้เกิดคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ความเหมือน และความแตกต่างในการบำบัดต่างกันออกไป
ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย
น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) มาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติก็จริง แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน ดังนั้นหากเราไม่ได้อ่านให้ละเอียด อาจเกิดอาการแพ้หรือ เกิดการระคายขึ้นมาในภายหลังได้ โดยข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย มีดังนี้
-
ควรเก็บรักษาน้ำมันหอมระเหย หรือน้ำมันหอมระเหยที่ผสมแล้ว ไว้ในขวดสีทึบ สีชา ปิดฝาให้สนิท เก็บให้พ้นแสงและความร้อน รวมถึงให้พ้นจากมือเด็ก ติดฉลากระบุชื่อ รายละเอียดสำคัญ เช่น วันหมดอายุ ปริมาณ ให้เรียบร้อย
-
เช็คข้อมูลความปลอดภัย (safety data) เพื่อทำความเข้าใจน้ำมันหอมระเหยแต่ละตัวก่อนใช้งาน
-
น้ำมันหอมระเหยไม่แนะนำให้ใช้กับผิวโดยตรงโดยเฉพาะกับผิวแพ้ง่ายผิวระคายเคือง (sensitive skin และ skin irritation) ยกเว้นน้ำมันหอมระเหยบางรายการ
-
แนะนำให้ทดสอบผิวแพ้สัมผัส (patch test) สำหรับการใช้น้ำมันหอมระเหยก่อนการใช้งาน
-
น้ำมันหอมระเหยโดยส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้นำมารับประทานโดยตรง เว้นแต่มีการระบุข้างฉลากว่าเป็นเกรดที่รับประทานได้เท่านั้น
-
น้ำมันหอมระเหยโดยเฉพาะกลุ่มซีตรัสมีความไวต่อแสงแดด หรือ แสงยูวี หรือ แสงหลอดไฟอัตราไวโอเลต จะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง
-
การใช้งานน้ำมันหอมระเหยกับเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ขวบ และหญิงระหว่างตั้งครรภ์ ต้องเจือจางน้ำมันหอมระเหยครึ่งหนึ่งจากปริมาณที่ระบุ
-
ผู้มีความดันโลหิตสูงให้หลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยบางประเภท
โดยการใช้งานครั้งแรกของทุกสินค้า ไม่แม้แต่น้ำมันหอมระเหย ต้องมีการทดสอบและอ่านรายละเอียดของสินค้าก่อนเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้หรือระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้ หรืออาจขอคำแนะนำกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ
น้ำมันหอมระเหย (essential oil) มี 3 ระดับ
น้ำมันหอมระเหย (essential oil) และน้ำหอม (Fragrance) มีระดับของการระเหยกลิ่นที่เหมือนกัน โดยจะเรียกว่า "The Pyramid" โน๊ตของระดับต่างๆ เปรียบเสมือนกับโน๊ตของดนตรี มีสูง กลางและต่ำ ถือได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ความงดงามทางด้านกลิ่นโดยแท้จริง และแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับดังนี้
top note
เป็นกลิ่นแรกที่สามารถสร้างความประทับใจ ลักษณเบาสบาย สดชื่น และเป็นกลิ่นระเหยเร็วที่สุด เช่น เกรปฟรุต (Grapefruit), ตะไคร้ (Lemongrass),มะกรูด (Bergamot)
middle note
เป็นกลิ่นหลักของน้ำมันหอมระเหยสูตรนั้นๆ (blended essential oil) เป็นตัวกลางที่จะช่วยให้กลิ่นอ่อนโยน และช่วยให้สงบ และเสริมสร้างสมดุลให้กับร่างกายและเป็นกลิ่นระเหยไวปานกลาง เช่น กุหลาบ (Rose), ดอกคาโมมายล์ (Chamomile), มาร์จอรัม (Marjoram), ดอกลาเวนเดอร์ (Lavender)
base note
กลิ่นที่อยู่นาน ระเหยช้าที่สุด ให้กลิ่นที่ลึกซึ้ง อบอุ่น เช่น ไม้หอมแก่นจันทร์ (Sandalwood), ไม้ซีดาร์ (Cedarwood), ดอกมะลิ (Jasmine), ขิง (ginger), ไพล (Plai)
น้ำมันหอมระเหย (essential oil) ของเรามีอะไรบ้าง
-
Lavender Oil น้ำมันดอกลาเวนเดอร์
-
Lemongrass Oil น้ำมันตะไคร้
-
Peppermint Oil น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์
-
Marjoram Oil น้ำมันมาร์จอรัม
-
Petitgrain Oil น้ำมันเพททิเกรน
-
Grapefruit Oil น้ำมันเกรปฟรุต
-
Jasmine Oil น้ำมันดอกมะลิ
-
Ginger Oil น้ำมันขิง
-
Plai Oil น้ำมันไพล
-
Cedarwood Oil น้ำมันไม้ซีดาร์
-
Sandalwood Oil น้ำมันไม้หอมแก่นจันทร์
-
Pine Oil น้ำมันลูกสน
-
Pomelo Oil น้ำมันส้มโอ
-
Rosemary Oil น้ำมันโรสแมรี่
-
Rose Otto Oil น้ำมันกุหลาบ
-
Tea Tree Oil น้ำมันต้นทีทรี
-
Ylang Ylang Oil (Organic) น้ำมันกระดังงา
-
Agarwood Oil น้ำมันกฤษณา
-
Angelica Root Oil น้ำมันแองเจลิกา รูท
-
Bergamot Oil น้ำมันมะกรูด
-
Chamomile Oil น้ำมันดอกคาโมมายล์
-
Cannabis Sativa Seed Oil น้ำมันเมล็ดกัญชง
-
Chulalongkorn Rose Oil น้ำมันดอกกุหลาบจุฬาลงกรณ์
-
Citronella Essential Oil น้ำมันตะไคร้หอม
-
Sweet orange Essential Oil น้ำมันส้ม
-
Eucalyptus Oil น้ำมันยูคาลิปตัส
-
Frankincense Oil น้ำมันกำยาน
-
Myrrh oil น้ำมันมดยอบ
-
Cinnamon Oil น้ำมันอบเชย
-
Rose Geranium Oil น้ำมันดอกกุหลาบเจอราเนียม
ในปัจจุบัน น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) มีหลากหลายอย่างมาก และให้การบำบัดตามศาสตร์สุคนธบำบัด (Aromatherapy) ที่แตกต่างกัน ซึ่งทางบริษัท ไอ พลัส คิว จำกัด มีจัด งาน Exhibition Open house งานที่จะช่วยให้การสร้างแบรนด์ในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีประสบความสำเร็จได้ง่ายดาย พร้อมทั้ง 5 Station ที่จะช่วยเปิดสัมผัสทั้ง 5 ของคุณ
ไม่เพียงเท่านั้น บริษัท ไอ พลัส คิว จำกัด ได้ออกแบบสูตรความสำเร็จ 6 ขั้นตอน หรือ Six Steps- Success Formula เพื่อรังสรรค์แต่ละคอลเลคชั่นอันเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะแบรนด์ของคุณแต่เพียงผู้เดียว และตอบสนองตรงตามความต้องการของคุณอย่างแท้จริง ภายใต้มาตรฐาน ISO9001, ISO22716, GMP, Thailand Trust Mark อีกด้วย